วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของบ้านท้องตมใหญ่



วัตถุประสงค์
 1.เพื่อศึกษาวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตทางทะเล
 2.เพื่อศึกษาถึงวิถีชีวิตของชุมชนในการประกอบอาชีพ
 3.เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์แนวปะการัง ว่ามีวิธีการอนุรักษ์อย่างไร ใน
   พื้นที่บ้านท้องตมใหญ่
 4.เพื่อศึกษาถึงวิธีการแก้ไขปัญหาแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
   และสิ่งแวดล้อมทางทะเล


ขั้นตอนการศึกษา
 1.เริ่มจากการเดินสำรวจพื้นที่บริเวณชายฝั่ง เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต
   ทางทะเล และระบบนิเวศ
 2.ได้สอบถามข้อมูล วิถีชีวิตชาวบ้าน ได้แนะนำถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรทาง
   ทะเลของชาวบ้าน มีวิธีการทำอย่างไรบ้าง
 3.การเข้าปลูกป่าชายเลน เพื่อสำรวจพื้นที่ในการปลูกป่า พบสิ่งมีชีวิต
   ทางทะเลอาศัยอยู่หรือไม่ และศึกษาถึงวิธีในการปลูกป่าชายเลน มีส่วนช่วยรักษา
   ระบบนิเวศทางทะเล
 4.ได้ไปศึกษาดำน้ำดูปะการัง ว่ามีการอนุรักษ์อย่างไร มีประโยชน์ต่อสัตว์น้ำ 
          อย่างไร
 5.สอบถามชาวบ้านเกี่ยวกับวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล การทำบ้าน
   ปลา


  หมู่บ้านท้องตมใหญ่ เป็นหมู่บ้านชาวประมงที่หากินอยู่กับท้องทะเล จึงพบปัญหาทั้งเรื่องปัญหาความเสื่อมโทรม สัตว์น้ำมีจำนวนลดน้อยลง ชาวบ้านจึงคิดหาทางป้องกันชุมชนด้วยการรวมตัวกันเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรไว้

 เราอาจจะเคยได้ยินวิธีอนุรักษ์ป่าไม้ด้วยการบวชต้นไม้ ส่วนวิธีอนุรักษ์ท้องทะเลของชุมชนบ้านท้องตมใหญ่ คือการ บวชทะเล ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการบวชทะเลที่เดียวในประเทศไทยก็ว่าได้


    เนื่องจากหมู่บ้านท้องตมใหญ่เป็นหมู่บ้านชาวพุทธร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงได้มีนำพิธีทางศาสนาเข้ามาควบรวมกับการอนุรักษ์ โดยมีการนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีในวันที่ทำการอนุรักษ์ โดยได้ร่วมกันทำบุญตรงสะพานปลาของหมู่บ้าน และหลังจากทำพิธีบนฝั่งเสร็จก็จะลงเรือ โดยมีสมาชิกเครือข่ายมาช่วยกัน ด้วยการทิ้งระเบิดชีวภาพ ปล่อยปลา ปล่อยกุ้งในอ่าว จึงเรียกว่าเป็นการบวชทะเล ซึ่งในขณะนี้ถือว่าเป็นผลสำเร็จ อ่าวท้องตมใหญ่ตอนนี้อุดมสมบูรณ์มาก
     นอกจากนี้ยังมีการสร้างบ้านให้ปลาอยู่อาศัยในอ่าวท้องตมใหญ่ด้วยการทำปะการังเทียมจากภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยเอาไม้ไผ่หรือทางมะพร้าวมาทำเป็นกระโจมใต้น้ำ ที่เรียกว่า ซั้งเพื่อสร้างเป็นบ้านให้ปลาอยู่ สร้างไว้ 200-300 ซุ้ม จริงๆ แล้วซั้งนั้นเป็นเครื่องมือหาปลาของชาวบ้าน เพื่อล่อให้ปลามาอยู่รวมกันแล้วจับมาขาย แต่ทางชุมชนบ้านท้องตมใหญ่เมื่อวางซั้งแล้วจะใช้ทุ่นกั้นเป็นเขตห้ามทำการประมง เพื่อให้พื้นทีแห่งนี้เป็นเขตสงวนรักษาให้ปลาวางไข่ออกลูกออกหลาน จนบริเวณนี้เป็นชุมชนปลาขนาดใหญ่ อนุรักษ์อย่างต่อเนื่องทำให้อ่าวท้องตมมีปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านมีรายได้มากขึ้นโดยที่ไม่ต้องออกไปหากินไกลฝั่ง ส่งผลให้มีเวลากับครอบครัวมากขึ้น ชุมชนบ้านท้องตมใหญ่เริ่มเป็นที่รู้จักและมีคณะมาศึกษาดูงานเพื่อจะนำไปปรับใช้กับชุมชนของตน ทางหมู่บ้านจึงเปิดบ้านของตนเป็นที่พักโฮมสเตย์รองรับ  ซึ่งกลุ่มข้าพเจ้า ที่ได้ไปดูงานรวบรวมข้อมูลก็ชื่นชอบในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติของบ้านท้องตมใหญ่
   นอกจากนี้บ้านท้องตมใหญ่ ยังมีการอนุรักษ์ปะการังอีกด้วย โดยใช้วิธีการดังนี้

 

    1.ทำการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแนว เขตการใช้ประโยชน์เพื่อการ
   ท่องเที่ยว
 2.ติดตั้งทุ่นผูกเรือในเขตการใช้ประโยชน์ในแนวปะการังที่มีความสำคัญสูง

   สำหรับให้จอดเรือโดยไม่ให้ทิ้งสมอ
 3.ห้ามการจับปลาทุกประเภทในบางบริเวณเพื่อให้มีปลาเข้ามาหลบใน

   บริเวณนั้นมากขึ้น
 4.ประชาสัมพันธ์ให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรปะการัง  โดยให้

   มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้และคุณค่าของปะการังให้กับบุคคลทุก
   ประเภทในการป้องกันและฟื้นฟูปะการัง
 5.บ้านท้องตมมีการอนุรักปะการังโดยเพาะปะการังเทียม
ปะการังเทียมป้องกันคลื่น อนุบาลสัตว์น้ำ บ้านท้องตมใหญ่
   การวางปะการังเทียมป้องกันชายฝั่งนั้น จะช่วยบรรเทาคลื่นลม ที่เข้าซัดชายฝั่งให้ลดความรุนแรงลงได้ นอกจากนี้ ตัวปะการังเองยังเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ที่จะเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อชายฝั่ง และไม่ทำลายทัศนียภาพของชายหาด

   การจัดสร้างแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเล หรือปะการังเทียม จึงเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยให้ระบบนิเวศฟื้นฟูเร็วที่สุด และช่วยเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล โดยเฉพาะปะรังเทียม หากวางไว้บริเวณชายฝั่งนั้น มีประโยชน์อย่างยิ่งในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำขนาดเล็กมิให้ถูกนำไปใช้ก่อนถึงเวลาที่เหมาะสม และสามารถดึงดูดสัตว์น้ำนาๆ ชนิดให้เข้ามาอยู่อาศัย หาอาหาร สืบพันธุ์ รวมไปถึงพัฒนาเป็นแหล่งประมงสำหรับการทำประมงขนาดเล็กและเชิงพาณิชย์ได้


เขตรักษาพันธุ์ม้าน้ำอ่าวท้องตม
  มีพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ชายฝั่งเขตติดต่อ ท่าเทียบเรือประมงท้องตม ไปจนถึง หมู่บ้านท้องตมใหญ่ ครอบคลุมตลอดแนวชายฝั่งที่น้ำทะเลขึ้นถึงบ้านท้องตมใหญ่ เป็นอีกแหล่งหนึ่ง ที่มีม้าน้ำชุกชุมตามธรรมชาติ เรียกว่า หาดูได้ตามเสาบ้านกันเลยทีเดียว แต่ที่เป็นแหล่งรวมม้าน้ำ ของบ้านท้องตมใหญ่ที่แท้จริง คือ บริเวณ "หัวแหลม"สถานที่เล่นน้ำของเด็กๆ ประจำหมู่บ้าน (ในอดีต) รวมทั้งเป็นหมายตกปลาชั้นยอด ของหมู่บ้านอีกด้วย

  ชาวประมงจะพบม้าน้ำได้ทั้งแนวน้ำตื้นบริเวณพื้นทรายใกล้ชายฝั่ง ในทะเลที่มีปะการัง กัลปังหา หญ้าทะเล ขึ้นอยู่บนพื้นทรายด้วย ซึ่งมีอยู่มากแถวหัวแหลม  แต่ส่วนใหญ่ทะเลบริเวณนี้จะมีน้ำขุ่น  ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะสามารถเดินลงไปพบ ไปดูวิถีชีวิตของม้าน้ำเหล่านี้ได้ คนจ่างถิ่นส่วนมากที่มาตกปลา ทอดแห บริเวณท่าเทียบเรือท้องตม แม้จะไม่เคยดำลงไปพบไปเห็น แต่ที่รู้ว่ามีม้าน้ำอาศัยอยู่บริเวณนี้เป็นจำนวนมากก็เพราะ มักจะติดอวน ติดแห แม้แต่ติดเบ็ดตกปลา หรืออุปกรณ์ทำประมงของชาวบ้านขึ้นมาบ่อยๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วชาวประมงบ้านเราไม่ได้ตั้งใจจะล่าม้าน้ำขึ้นมา แต่ต้องการจับปลา จับปู จับหมึกเป็นหลัก แต่เมื่อติดขึ้นมาแล้ว ก็มักอยากเก็บไว้เป็นที่ระลึก  จากการสำรวจล่าสุด พบว่าประชากรม้าน้ำกำลังมีจำนวน โดยสาเหตุหลักจากการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นแนวปะการัง แนวหญ้าทะเล และป่าชายเลนที่เป็นเสมือน แหล่งอาศัย แหล่งหลบภัย และเป็นปราการดักตะกอนของเสียที่จะไหลลงสู่ท้องทะเล รวมทั้งการล่าม้าน้ำเพื่อการค้าที่เพิ่มปริมาณขึ้นทุกปี  หลายฝ่ายกำลังวิตก ว่าม้าน้ำจะสูญพันธุ์ไปจากท้องทะเลชาวบ้านท้องตมใหญ่จึงได้ทำบ้านม้าน้ำเพื่อเป็นการอนุรักษ์ม้าน้ำไว้ไม่ให้สูญพันธ์ไปจากบ้านท้องตมใหญ่
ผลการศึกษา
  ผลจากการสำรวจชาวบ้านท้องตมใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือ ทำประมง ซึงการประกอบอาชีพนี้ได้สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ผลผลิตที่ได้มาส่วนใหญ่เป็นสัตว์น้ำที่ได้มาจากทะเล ที่สำคัญคือ หมึกกุ้ง หอย ปูและปลาชนิดต่างๆเป็นส่วนใหญ่ และมีสัตว์ชนิดหนึ่งที่พบมากคือ ม้าน้ำ ชาวบ้าน มีการเพาะเลี้ยง โดยการทำบ้านม้าน้ำ มีการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลโดยการทำบ้านปลา เป็นการสร้างที่อยู่ให้แก่สัตว์น้ำ ซึ่งช่วยรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ
  การปลูกป่าชายเลนที่บ้านท้องตมใหญ่มีพื้นที่ป่าชายเลนจำนวนมาก มีการปลูกต้นโกงกางซึ่งการปลูกป่าชายเลน เป็นการรักษาความสมดุลของชายฝั่งและทะเล ยังเป็นเหล่งที่อยู่ของสัตว์ สัตว์ที่พบเช่นปลา หอย ปู ซึ่งการปลูกป่าชายเลนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ
  การอนุรักษ์แนวปะการังของบ้านท้องตมใหญ่ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยพัฒนา เนื่องจากแนวปะการังอยู่ห่างไกลจากบ้านท้องตมใหญ่ประมาณ 400-500 เมตร ซึ่งแนวปะการังที่พบจะอยู่บริเวณรอบเกาะ การอนุรักษ์แนวปะการังของบ้านท้องตมใหญ่ มีการปลูกแนวปะการังเทียม และมีการทำพิธีบวชทะเลซึ่งเป็นพิธีสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เนื่องจากแนวปะการังนั้นมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ปลาเล็ก ปลาน้อย และสัตว์ทะเลอื่นๆ สถานที่บ้านท้องตมใหญ่แห่งนี้ จึงมีการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตในด้านต่างๆ ที่อุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ




ประโยชน์ที่ได้รับจากไปศึกษาดูงานครั้งนี้ในครั้งนี้
   - ได้เรียนรู้วิถีชีวิตและการประกอบอาชีพและพัฒนาชุมชนของชาวบ้าน
    ท้องต้มใหญ่
  - เสริมสร้างการรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตทางทะเล
  - วิธีการอนุรักษ์แนวปะการังและความสำคัญของแนวปะการัง
  - การดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
  - ได้เรียนรู้ถึงความสวยงามของธรรมชาติ
  - ได้รู้วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิงมีชีวิตทางทะเล การทำบ้านปลา บ้าน
    กุ้งและบ้านม้าน้ำ เพื่ออนุรักษ์ไม่ให้สูญพันธ์
  - รู้ถึงการปลูกป่าชายเลนช่วยในการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศเป็น
    ปัจจัยที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล
  - เป็นการศึกษาความสมดุลของระบบนิเวศ
  - รู้ถึงคุณค่าประเพณี บวชทะเล ประจำปีที่บ้านท้องตมใหญ่ที่มีส่วนช่วยใน
    การอนุรักษ์


สรุป
  จากการที่กลุ่มข้าพเจ้าไปศึกษาดูงานครั้งนี้ ทำให้ได้รู้ถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตในด้านต่างๆ เช่น การปลูกป่าชายเลน การทำบ้านปลา การอนุรักษ์แนวปะการัง วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตทรัพยากรแต่ละด้านมีความแตกต่างกัน สภาพปัญหา การถูกทำลายของทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้เห็นคุณค่าของทรัพยากรทางทะเล การดูแลเอาใจใส่ธรรมชาติของชาวบ้านบริเวณรอบๆพื้นที่ ประโยชน์ของการปลูกป่าชายเลน มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า และเมื่อใช้แล้ว ก็ต้องรู้จักทดแทน ไม่ใช่ใช้แล้วปล่อยให้หมดไป สร้างจิตสำนึกที่ดีในการช่วยกันรักษา  โดยการได้ไปลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่าชายเลน การดำน้ำปะการัง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการศึกษา หาแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล  นับว่าการไปครั้งนี้ได้รับประโยชน์มากมาย


ข้อเสนอแนะ
 1.อยากให้ผู้ที่ไปเยี่ยมชม ท่องเที่ยวโดยเชิงอนุรักษ์ ให้เห็นคุณค่าของสิ่งมี
   ชีวิตทางทะเล ไม่ทำลาย แต่ช่วยกันรักษา
 2.การศึกษาครั้งนี้ ระยะเวลาในการศึกษาไม่เพียงพอ ทำให้ได้ข้อมูลยังไม่
   มากพอ
 3.สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย คือตอนไปฝนตกตลอดเวลา ควรตรวจสอบ
   สภาพอากาศก่อนเดินทาง



สัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านท้องตมใหญ่


จัดทำโดย
นายสถาพร  ภาโส     54170118  สารสนเทศ
นางสาววรรณา  อิ่มเอิบ  54170117  สารสนเทศ
นางสาวประภัสสร เรืองดี  54170209  ภูมิศาสตร์
     คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์